วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6 / 6 ธ.ค. 55


กิจกรรมการเรียนการสอน
       เริ่มแรกอาจารย์อธิบายความหมายของการที่ให้นักศึกษานำกล่องมาเพื่อผลิตเป็นสื่อให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ก่อนให้แบ่งกลุ่มแล้วนำกล่องมาประกอบกันเป็นรูปร่างต่างๆ ตามที่อาจารย์ได้กำหนดหัวข้อให้
กลุ่มที่ 1 ประกอบเป็นรูปเรือ
กลุ่มที่ 2 ประกอบเป็นรูปเรือ
กลุ่มที่ 3 ประกอบเป็นรูปหุ่นยนต์ ชื่อว่า โลโบ้
กลุ่มที่ 4 ประกอบเป็นรูปหนอน
แล้วให้แต่ละกลุ่มอธิบายถึงความคิดริเริ่มว่าทำไมถึงทำขึ้นมาแล้วถึงได้เป็นรูปทรงแบบนี้ เอากล่องอันไหนมาเรียงไว้ก่อนหลัง
     งานที่ได้รับมอบหมาย
การผลิตสื่อโดยให้แต่ละกลุ่มผลิตสื่อตามที่อาจารย์ได้กำหนดหัวข้อไว้ให้ ซึ่งสิ่งของที่นำมาทำนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของที่เหลือใช้ทั้งนั้น

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5 / 29 พ.ย. 55


กิจกรรมการเรียนการสอน
          อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามที่แต่ละคู่ได้รับมอบหมายเป็นข้อๆ ดังนี้
         หมวดสัตว์
1.การนับ = นับจำนวนสัตว์ในสวนสัตว์ แต่ละประเภทว่ามีกี่ตัว
2.ตัวเลข = นับจำนวนสัตว์บกและสัตว์น้ำว่าแต่ละชนิดมีจำนวนสัตว์กี่ตัว
3.การจับคู่ = จับคู่สัตว์บกและสัตว์น้ำแล้วนับจำนวน
4.การจัดประเภท = แยกสัตว์บกกับสัตว์น้ำออกจากกัน
5.การเปรียบเทียบ = เปรียบเทียบจำนวนสัตว์บกและสัตว์น้ำว่าสัตว์ชนิดใดมีจำนวนมากกว่ากัน
6.การจัดลำดับ = จัดลำดับสัตว์ที่ทีขนาดตัวที่เล็กไปหาสัตว์ที่มีขนาดตัวที่ใหญ่
7.รูปทรงและเนื้อที่ = รูปทรงและขนาดของคอกช้าง
8.การวัด = ยกตัวอย่างสัตว์สองชนิด คือ ยีราฟกับม้าว่าสัตว์ชนิดใดมีความสูงมากกว่ากัน 9.เซต = แยกสัตว์ที่กินพืช และสัตว์ที่ไม่กินพืชออกจากกัน
10.เศษส่วน = แบ่งครึ่งจำนวนของนกทั้งหมดยี่สิบตัว 1
1.การทำตามแบบหรือลวดลาย = นำสัตว์ปีกมาเรียงจากตัวเล็กไปหาตัวใหญ่แล้วให้เด็กวางตามแบบที่เราจัดไว้
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านจำนวน = แบ่งสัตว์ในปริมาณที่เท่ากัน
       หมวดผัก
1.การนับ = นับจำนวนผักในตะกร้าว่ามีกี่ชนิด จำนวนเท่าไร
2.ตัวเลข = นับจำนวนผัก
3.การจับคู่ = นับจำนวนผัก แยกประเภท และจับคู่ผัก
4.การแยกประเภท = แยกประเภทผักใบเขียวออกจากผักที่ไม่มีใบเขียว
5.การเปรียบเทียบ = เปรียบเทียบขนาด รูปทรง รูปร่าง จำนวน ของผักในตะกร้า
6.การจัดลำดับ = จัดลำดับความยาว ความสั้นของผักในตะกร้า
7.รูปทรงและเนื้อที่ = เอาแครอทใส่ตะกร้าทรงสี่เหลี่ยมว่าใส่ได้จำนวนกี่อัน งานที่ได้รับมอบหมาย อาทิตย์หน้านำกล่องมาคนละหนึ่งใบ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4 / 22 พ.ย. 55

กิจกรรมการเรียนการสอน
                เรียนเรื่อง การนับ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ ของเลขคณิตศาสตร์ เริ่มแรกอาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วให้นักศึกษาวาดภาพตามใจชอบ ผลของการวาดภาพ คือ การจัดกลุ่มว่าใครมาก่อน 8:30 . และหลัง 8:30 . บ้างแปลทางคณิตศาสตร์ คือ การแบ่งกลุ่ม
ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย (นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)
     1.การนับ (Counting) ทำให้เราเห็นค่าการลดลง(-) และการเพิ่มขั้น(+) การนับ นับ   ตั้งแต่ 0-9 เช่น นับแบบปากเปล่า นับแบบไม่มีจำนวนนับ
     2.ตัวเลข (Number) ตัวเลขไทยและฮินดูอารบิก
     3.การจับคู่ (Matching) ใช้ทักษะการสังเกตรูปร่าง ตัวเลข ความเหมือน ตัวเลขกับจำนวน นวนกับจำนวน
    4.การจัดประเภท (Classification)
    5.การเปรียบเทียบ (Comparing) โดยการสังเกต การประมาณ
    6.การจัดลำดับ จัดลำดับของตัวเลข และปริมาณ
   7.รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space)
   8.การวัด (Measurement) ได้แก่การหาค่า หาปริมาณ หาจำนวน
   9. เซต (Set) การเชื่อมโยงที่มีความสัมพันธ์กัน
  10.เศษส่วน (Fraction)
  11.การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
  12.การอนุรักษ์หรือการคงที่เรื่องปริมาณ (Conservation) การคงที่ในเรื่องของปริมาณ งานที่ได้รับมอบหมาย การนำขอบข่ายทางคณิตศาสตร์ทั้ง
  12 ข้อมาประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยให้รู้จักเกี่ยวกับตัวและจำนวน โดยจับคู่ๆละ 2 คน คู่ของฉัน คือ นางสาว ประภาพร เปลาเล

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3 / 15 พ.ย. 55


                                            
กิจกรรมการเรียนการสอน
          รวมกลุ่มนำความหมายทางคณิตศาสตร์ของแต่ละคนมารวมกัน แล้วแปลความหมายเป็นของกลุ่มตัวเองสมาชิกในกลุ่มมีดังนี้
1.นางสาว ปนัฐดา ประยุทธเต
2.นางสาว สุปรียา ขวัญพร้อม
3.นางสาว ปัทมาภรณ์ วิทูร
4.นางสาว ประภาพร เปลาเล
            กลุ่มของดิฉันได้ให้ความหมายทางคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้ คณิตศาสตร์เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการใช้ตัวเลข การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีโครงสร้างเพื่อมุ่งเน้นไปที่การจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม